วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินอีกชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น นาฬิกา รถยนต์ โต๊ะ เป็นต้น และอสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น
ประเภททรัพย์สินทางปัญญา
     ลิขสิทธิ์ หมายถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม งานภาพยนต์ หรืองานอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ลิขสิทธิ์ยังรวมทั้ง
-         สิทธิค้างเคียง (Neighbouring Right) คือ การนำเอางานด้านลิขสิทธิ์ออกแสดง เช่น นักแสดง ผู้บันทึกเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ในการบันทึกหรือถ่ายทอดเสียงหรือภาพ
-         โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Program หรือ Computer Software) คือ ชุดคำสั่งที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน
-         งานฐานข้อมูล (Data Base) คือ ข้อมูลที่ได้รับเก็บรวบรวมขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ
     สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือ ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Model) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด
     การประดิษฐ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ ลักษณะองค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกลของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการักษา หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์
     การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับการทำให้รูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์เกิดความสวยงาม และแตกต่างไปจากเดิม
     ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย
     แบบผังภูมิของวงจรรวม หมายถึง แผนผังหรือแบบที่ทำขึ้น เพื่อแสดงถึงการจัดวางและการเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้า เช่น ตัวนำไฟฟ้า หรือตัวต้านทาน เป็นต้น
     เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้า หรือบริการ ได้แก่
-         เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น โค้ก เป๊ปซี่ บรีส แฟ้บ เป็นต้น
-         เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับการบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น
-         เครื่องหมายรับรอง (Certification mark) คือเครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ เป็นต้น

-         เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมาบบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัทปูนซิเมนไทย จำกัด เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

การใช้อินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัย

ทันภัยการใช้ Internet

ภัยจากการแชท การแชท หมายถึง การพูดคุยกันทางอินเทอร์เน็ต เป็นภัยที่พบง่ายและบ่อยที่สุด บางครั้งเราอาจกำลังสนทนาอยู่กับคนที่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์จากเราอยู่ก็ได้ ถ้าเราเผลอให้ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือนัดเจอคนที่รู้จักกันทางเน็ต เราอาจตกเป็นเหยื่อของคนเหล่านี้ได้ คนเหล่านี้เล่นแชท เพราะเป็นคนไม่ค่อยมีเพื่อน , มีปมด้อย , อยากหาแฟน , เพ้อฝันว่าอาจจะได้เจอสิ่งดีๆ ในเนต ,โรคจิต , แสวงหาผลประโยชน์จากคนที่ไม่รู้ , หาความรู้โดยไม่อยากเสียเงิน หรือเล่นไปงั้นๆ แหละ เพื่อนบอกให้ลอง
ข้อควรปฏิบัติทั่วไปในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยมีดังนี้
1. ไม่ควรปล่อยให้เยาวชนหรือบุตรหลานเล่นอินเทอร์เน็ตตามลำพัง
2. กระตุ้นให้เด็กเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นในอินเทอร์เน็ตให้กับผู้ปกครองได้รับทราบ และให้ร้องขอความช่วยเหลือหรือขอคำปรึกษาเมื่อพบกับปัญหา
3. ทำความเข้าใจกับเด็กเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อป้องกันเด็กจากเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
4. แนะนำเด็กในการใช้อีเมล์ และให้ตรวจสอบหรือสอบถามเกี่ยวกับการส่งอีเมล์ที่ส่งมาให้เด็กอยู่เสมอ
5. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้แชตรูม หรือห้องสนทนาเกี่ยวกับข้อมูลที่เด็กควรปกปิดไว้ ไม่ควรบอกให้คู่สนทนารู้ เช่น นามสกุล ที่อยู่ หรือรหัสผ่านที่เป็นความลับกับผู้ที่ไม่เคยรู้จัก หรือเริ่มรู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต
6. ควรวางคอมพิวเตอร์ที่เด็กใช้ไว้ในที่เปิดเผย เช่น ห้องนั่งเล่น มากกว่าที่จะวางไว้ในห้องนอน หรือห้องส่วนตัว กลุ่มเยาวชน
7. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน ที่ทำงาน หรือเบอร์ที่ทำงาน ของผู้ปกครองให้แก่บุคคลอื่น ที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต
8. แจ้งให้ผู้ปกครองทราบโดยทันทีที่พบข้อมูล หรือรูปภาพใด ๆ บนอินเทอร์เน็ตที่หยาบคายไม่เหมาะสม
9. ไม่ไปพบบุคลใดก็ตามที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
10. ไม่ส่งรูปหรือสิ่งของใด ๆ ให้แก่ผู้อื่นที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต โดยมิได้ขออนุญาติจากผู้ปกครองก่อน


วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ต



อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน กล่าวคือ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก สามรถเข้าถึงข้อมูลได้ไม่จำกัดสถานที่และเวลา ดังนั้น จึงมีการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท
    4.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (electronic mail หรือ e-mail)
           เป็นบริการใช้ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากผู้ใช้งานสามรถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กับบุคคลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริการระบบไปรษณีย์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตัวอักษรได้อีกด้วย เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้นแนบไปได้อีกด้วย
         การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการระบุที่อยู่ของผู้รับเช่นเดียวกับการระบุที่อยู่บนซองของการส่งไปรษณีย์ธรรมดาทั่วไป ซึ่งในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีที่อยู่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรส (e-mail Address)




 4.2 การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น
         การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Internet forum) เป็นบริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การอภิปรายและแสดงความคิดเห็นร่วมกันของผู้คนในสังคมผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งแนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ต คือ ใช้เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคม (social network) เทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนข่าวสารมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ยูสเน็ต (usenet)  บล็อก (blog) เป็นต้น



วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

ภาษาซีพลัสพลัส

ความหมายของภาษาซีพลัสพลัส

          C++ คือ  ภาษา C programming language รุ่นใหม่ เป็นภาษาในการเขียนโปรแกรม  ถูกพัฒนาโดย Dr.Bjarne Stroustrup ซึ่งเป็นนักวิจัยอยู่ทีห้องปฏิบัติการ Bell Labs ประเทศสหรัฐอเมริกาในระหว่างปี พ.ศ. 2525-2528 ภาษา C++ เกิดจากแนวคิดในการเพิ่มประสิทธิภาพภาษา CCโดยได้นำความสามารถของ ภาษา C มาพัฒนา ให้เป็นโปรแกรมภาษาที่มีความเป็น Object Oriented Programming (โปรแกรมเชิงวัตถุ) และนี้เองคือที่มาของภาษา  C++ จากการพัฒนานี้ทำให้ทุกสิ่งที่ภาษา C ทำได้ ภาษา C++ ก็จะสามารถทำได้ แต่สิ่งที่ภาษา C++ ทำได้ ภาษา C อาจจะทำไม่ได้
      ภาษา C++ ถูกออกแบบมาสำหรับการทำงานภายใต้สิ่งแวดล้อมระบบปฏิบัติการ UNIX  ด้วยภาษา C++ ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้การเขียนโปรแกรมเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (reusability) ก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น


* ภาษาซีพลัสพลัสได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมทั่วไป สามารถรองรับการเขียนโปรแกรมในระดับภาษาเครื่องได้ เช่นเดียวกับภาษาซี

* ในทางทฤษฎี ภาษาซีพลัสพลัสควรจะมีความเร็วเทียบเท่าภาษาซี แต่ในการเขียนโปรแกรมจริงนั้น ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาที่มีการเปิดกว้างให้โปรแกรมเมอร์เลือกรูปแบบการเขียนโปรแกรม ซึ่งทำให้มีแนวโน้มที่โปรแกรมเมอร์อาจใช้รูปแบบที่ไม่เหมาะสม ทำให้โปรแกรมที่เขียนมีประสิทธิภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และภาษาซีพลัสพลัสนั้นเป็นภาษาที่มีความซับซ้อนมากกว่าภาษาซี จึงทำให้มีโอกาสเกิดบั๊กขณะคอมไพล์มากกว่า

* ภาษาซีพลัสพลัสได้รับการออกแบบเพื่อเข้ากันได้กับภาษาซีในเกือบทุกกรณี (ดูเพิ่มเติมที่ Compatibility of C and C++)

* มาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัส
 ถูกออกแบบมาเพื่อไม่ให้มีการเจาะจงแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์


* ภาษาซีพลัสพลัสถูกออกแบบมาให้รองรับรูปแบบการเขัยนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm)

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โปรแกรมคอมพิวเตอร์

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer program) คือ กลุ่มชุดคำสั่งที่ใช้อธิบายชิ้นงาน หรือกลุ่มงานที่จะประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์อาจหมายถึง ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน หรือ โปรแกรม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่นั้นเป็นชุดคำสั่งที่ออกแบบตามขั้นตอนวิธี โดยปกติแล้วเขียนโดยโปรแกรมเมอร์ หรือไม่ก็สร้างโดยโปรแกรมอื่น

   ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

1 การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis) เป็นขั้นตอนวิเคราะห์ปัญหาจากระบบงาน นิยมใช้วิธีวิเคราะห์จากผลลัพธ์ หรือลักษณะของรูปแบบรายงาน (Output) ของระบบงานนั้นๆเพื่อวิเคราะห์ย้อนกลับไปถึงที่มาองข้อมูล ในด้านสมการคำนวณ ( Process) จนถึงการป้อนข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องในการดำเนินการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เข้าระบบ (Input)รวมทั้งศึกษาถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่จะนำโปรแกรมไปใช้งานด้วย เช่น ใช้งานแบบเครือข่ายหรือไม่ เป็นต้น      
2 การออกแบบโปรแกรม (Program Design) การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นขั้นตอนที่ใช้เป็นแนวทางในการลงรหัสโปรแกรม ผู้ออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมอาจใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วยในการออกแบบ อาทิเช่น คำสั่งลำลอง (Pseudocode) หรือ ผังงาน (Flow chart) การออกแบบโปรแกรมนั้นไม่ต้องพะวงกับรูปแบบคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ แต่ให้มุ่งความสนใจไปที่ลำดับขั้นตอนในการประมวลผลของโปรแกรมเท่านั้น                     
3 การเขียนโปรแกรม (Program Coding) การเขียนโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ ต้องใช้คำสั่งของภาษาคอมพิวเตอร์ ดังนั้น สิ่งแรกที่ต้องทำคือ พิจารณาเลือกใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับระบบงานมาพัฒนาโปรแกรม ใช้หลักพิจารณาโดยคำนึงถึงความรู้ความสามารของผู้เขียนโปรแกรมว่า สามารถใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดได้บ้าง จากนั้นจึงพิจารณาประสิทธิภาพการทำงานของคำสั่งในภาษาเป็นลำดับต่อมา แล้วจึงนำมาเขียนเป็นชุดคำส่งตามลำดับขั้นตอนที่ได้วางแผนแก้ปัญหาไว้
4 การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม ( Program Testing & Verification) การทดสอบการทำของโปรแกรม นิยมดำเนินการใน 2 ช่วง คือ ช่วงแรกทดสอบโดยผู้พัฒนาระบบงานเอง ก่อนนำไปใช้งานจริง โดยใช้ข้อมูลสมมติบันทึกเข้าระบบ ประมวลผลเพื่อพิจารณาผลลัพธ์ว่าเป็นไปตามที่ได้วิเคราะห์หรือไม่ หากยังมีข้อผิดพลาด ต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมให้ถูกต้อง จากนั้นเมื่อทดสอบการทำงานจนได้ผลถูกต้องแล้ว จึงนำไปทดสอบในอีกช่วง คือ ทดสอบโดยผู้ใช้ระบบจริง หากยังมีข้อแก้ไขปรับปรุงอีก ผู้พัฒนาระบบงานต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของระบบงานและผู้ใช้ระบบ
5 การจัดทำเอกสารและคู่มือการใช้งาน (Program Documentation) เมื่อโปรแกรมผ่านการทดสอบ ให้ผลลัพธ์การทำงานถูกต้อง ควรดำเนินการจัดทำเอกสารประกอบการใช้โปรแกรมด้วย ส่วนประกอบในเอกสารมีดังนี้ คือ จุดประสงค์ของระบบงาน ขั้นตอนของลำดับการทำงาน โดยอาจเป็นอัลกอริทึมหรือผังงาน โปรแกรมต้นฉบับ ผลลัพธ์ของการทำงานโปรแกรม และวิธีติดตั้งโปรแกรม เป็นต้น
6 การปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรม (Program Maintenance) เป็นขั้นตอนที่ต้องดำเนินการต่อไป เพื่อให้โปรแกรมสามารถดำเนินงานได้อย่างไม่ติดขัด เช่น รูปแบบรายงานมีการเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงในโปรแกรมให้สอดคล้องกับความเป็นจริง เป็นต้น