วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ต



อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน กล่าวคือ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก สามรถเข้าถึงข้อมูลได้ไม่จำกัดสถานที่และเวลา ดังนั้น จึงมีการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท
    4.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (electronic mail หรือ e-mail)
           เป็นบริการใช้ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากผู้ใช้งานสามรถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กับบุคคลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริการระบบไปรษณีย์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตัวอักษรได้อีกด้วย เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้นแนบไปได้อีกด้วย
         การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการระบุที่อยู่ของผู้รับเช่นเดียวกับการระบุที่อยู่บนซองของการส่งไปรษณีย์ธรรมดาทั่วไป ซึ่งในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีที่อยู่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรส (e-mail Address)




 4.2 การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น
         การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Internet forum) เป็นบริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การอภิปรายและแสดงความคิดเห็นร่วมกันของผู้คนในสังคมผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งแนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ต คือ ใช้เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคม (social network) เทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนข่าวสารมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ยูสเน็ต (usenet)  บล็อก (blog) เป็นต้น



วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

ภาษาซีพลัสพลัส

ความหมายของภาษาซีพลัสพลัส

          C++ คือ  ภาษา C programming language รุ่นใหม่ เป็นภาษาในการเขียนโปรแกรม  ถูกพัฒนาโดย Dr.Bjarne Stroustrup ซึ่งเป็นนักวิจัยอยู่ทีห้องปฏิบัติการ Bell Labs ประเทศสหรัฐอเมริกาในระหว่างปี พ.ศ. 2525-2528 ภาษา C++ เกิดจากแนวคิดในการเพิ่มประสิทธิภาพภาษา CCโดยได้นำความสามารถของ ภาษา C มาพัฒนา ให้เป็นโปรแกรมภาษาที่มีความเป็น Object Oriented Programming (โปรแกรมเชิงวัตถุ) และนี้เองคือที่มาของภาษา  C++ จากการพัฒนานี้ทำให้ทุกสิ่งที่ภาษา C ทำได้ ภาษา C++ ก็จะสามารถทำได้ แต่สิ่งที่ภาษา C++ ทำได้ ภาษา C อาจจะทำไม่ได้
      ภาษา C++ ถูกออกแบบมาสำหรับการทำงานภายใต้สิ่งแวดล้อมระบบปฏิบัติการ UNIX  ด้วยภาษา C++ ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้การเขียนโปรแกรมเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (reusability) ก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น


* ภาษาซีพลัสพลัสได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมทั่วไป สามารถรองรับการเขียนโปรแกรมในระดับภาษาเครื่องได้ เช่นเดียวกับภาษาซี

* ในทางทฤษฎี ภาษาซีพลัสพลัสควรจะมีความเร็วเทียบเท่าภาษาซี แต่ในการเขียนโปรแกรมจริงนั้น ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาที่มีการเปิดกว้างให้โปรแกรมเมอร์เลือกรูปแบบการเขียนโปรแกรม ซึ่งทำให้มีแนวโน้มที่โปรแกรมเมอร์อาจใช้รูปแบบที่ไม่เหมาะสม ทำให้โปรแกรมที่เขียนมีประสิทธิภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และภาษาซีพลัสพลัสนั้นเป็นภาษาที่มีความซับซ้อนมากกว่าภาษาซี จึงทำให้มีโอกาสเกิดบั๊กขณะคอมไพล์มากกว่า

* ภาษาซีพลัสพลัสได้รับการออกแบบเพื่อเข้ากันได้กับภาษาซีในเกือบทุกกรณี (ดูเพิ่มเติมที่ Compatibility of C and C++)

* มาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัส
 ถูกออกแบบมาเพื่อไม่ให้มีการเจาะจงแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์


* ภาษาซีพลัสพลัสถูกออกแบบมาให้รองรับรูปแบบการเขัยนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm)

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โปรแกรมคอมพิวเตอร์

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer program) คือ กลุ่มชุดคำสั่งที่ใช้อธิบายชิ้นงาน หรือกลุ่มงานที่จะประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์อาจหมายถึง ซอฟต์แวร์ แอปพลิเคชัน หรือ โปรแกรม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่นั้นเป็นชุดคำสั่งที่ออกแบบตามขั้นตอนวิธี โดยปกติแล้วเขียนโดยโปรแกรมเมอร์ หรือไม่ก็สร้างโดยโปรแกรมอื่น

   ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

1 การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis) เป็นขั้นตอนวิเคราะห์ปัญหาจากระบบงาน นิยมใช้วิธีวิเคราะห์จากผลลัพธ์ หรือลักษณะของรูปแบบรายงาน (Output) ของระบบงานนั้นๆเพื่อวิเคราะห์ย้อนกลับไปถึงที่มาองข้อมูล ในด้านสมการคำนวณ ( Process) จนถึงการป้อนข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องในการดำเนินการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เข้าระบบ (Input)รวมทั้งศึกษาถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่จะนำโปรแกรมไปใช้งานด้วย เช่น ใช้งานแบบเครือข่ายหรือไม่ เป็นต้น      
2 การออกแบบโปรแกรม (Program Design) การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นขั้นตอนที่ใช้เป็นแนวทางในการลงรหัสโปรแกรม ผู้ออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมอาจใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วยในการออกแบบ อาทิเช่น คำสั่งลำลอง (Pseudocode) หรือ ผังงาน (Flow chart) การออกแบบโปรแกรมนั้นไม่ต้องพะวงกับรูปแบบคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ แต่ให้มุ่งความสนใจไปที่ลำดับขั้นตอนในการประมวลผลของโปรแกรมเท่านั้น                     
3 การเขียนโปรแกรม (Program Coding) การเขียนโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ ต้องใช้คำสั่งของภาษาคอมพิวเตอร์ ดังนั้น สิ่งแรกที่ต้องทำคือ พิจารณาเลือกใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับระบบงานมาพัฒนาโปรแกรม ใช้หลักพิจารณาโดยคำนึงถึงความรู้ความสามารของผู้เขียนโปรแกรมว่า สามารถใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดได้บ้าง จากนั้นจึงพิจารณาประสิทธิภาพการทำงานของคำสั่งในภาษาเป็นลำดับต่อมา แล้วจึงนำมาเขียนเป็นชุดคำส่งตามลำดับขั้นตอนที่ได้วางแผนแก้ปัญหาไว้
4 การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม ( Program Testing & Verification) การทดสอบการทำของโปรแกรม นิยมดำเนินการใน 2 ช่วง คือ ช่วงแรกทดสอบโดยผู้พัฒนาระบบงานเอง ก่อนนำไปใช้งานจริง โดยใช้ข้อมูลสมมติบันทึกเข้าระบบ ประมวลผลเพื่อพิจารณาผลลัพธ์ว่าเป็นไปตามที่ได้วิเคราะห์หรือไม่ หากยังมีข้อผิดพลาด ต้องดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมให้ถูกต้อง จากนั้นเมื่อทดสอบการทำงานจนได้ผลถูกต้องแล้ว จึงนำไปทดสอบในอีกช่วง คือ ทดสอบโดยผู้ใช้ระบบจริง หากยังมีข้อแก้ไขปรับปรุงอีก ผู้พัฒนาระบบงานต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของระบบงานและผู้ใช้ระบบ
5 การจัดทำเอกสารและคู่มือการใช้งาน (Program Documentation) เมื่อโปรแกรมผ่านการทดสอบ ให้ผลลัพธ์การทำงานถูกต้อง ควรดำเนินการจัดทำเอกสารประกอบการใช้โปรแกรมด้วย ส่วนประกอบในเอกสารมีดังนี้ คือ จุดประสงค์ของระบบงาน ขั้นตอนของลำดับการทำงาน โดยอาจเป็นอัลกอริทึมหรือผังงาน โปรแกรมต้นฉบับ ผลลัพธ์ของการทำงานโปรแกรม และวิธีติดตั้งโปรแกรม เป็นต้น
6 การปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรม (Program Maintenance) เป็นขั้นตอนที่ต้องดำเนินการต่อไป เพื่อให้โปรแกรมสามารถดำเนินงานได้อย่างไม่ติดขัด เช่น รูปแบบรายงานมีการเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงในโปรแกรมให้สอดคล้องกับความเป็นจริง เป็นต้น





วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาด้วย "อัลกอริทึม"

1.การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo  Code)
          หมายถึง การนำคำในภาษาอังกฤษ มาแสดงการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยเรียบเรียงเป็นประโยคให้สามารถสื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจได้ว่าแต่ละขั้นตอนของการแก้ปัญหานั้นทำได้อย่างไร  ซูโดโคดที่ดีต้องมีความชัดเจน สั้น กระชับ ได้ใจความก่อนทำการเขียนอัลกอริทึม ต้องกำหนดตัวแปรก่อนที่จะใช้ก่อนเสมอ

         วิธีการเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code)
สามารถกำหนดการทำงานได้เป็น 6 ข้อ ดังนี้
1.การรับข้อมูลของคอมพิวเตอร์
2.การแสดงผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์
3.การคำนวณหรือการทำงานทางคณิตศาสตร์ของคอมพิวเตอร์
4.การกำหนดค่าข้อมูลของคอมพิวเตอร์   
5.การเปรียบเทียบข้อมูล 2 อย่าง และมีการเลือกทางเดียวหรือสองทางเลือกในการทำงานหรือหลายทาง
6.การทำงานซ้ำของคอมพิวเตอร์

ตัวอย่างการเขียนรหัสจำลอง
จงเขียน Pseudocode จากโปรแกรมหาค่าเฉลี่ยของตัวเลข n ค่า แล้วแสดงค่าเฉลี่ยออกมาทางหน้าจอ
1. read n
2. for i = 1 to n <– เป็นคำสั่งวนรอบจำนวน n รอบ
1. read num
2. calculate sum = sum + num
3. calculate mean = sum / n
4. print mean
2.การเขียนผังงาน ( Flowchart )

ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ 

ประโยชน์ของผังงาน

·       ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน
·       ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
·       ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

วิธีการเขียนผังงาน 

·       ใช้สัญลักษณ์ตามที่กำหนดไว้
·       ใช้ลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา
·       คำอธิบายในภาพควรสั้นกะทัดรัด และเข้าใจง่าย
·       ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า - ออก
·       ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก ๆ ควรใช้สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อแทน
·       ผังงานควรมีการทดสอบความถูกต้องของการทำงานก่อนนำไปเขียนโปรแกรม

ผังงานโปรแกรม ( Program Flowchart )

การเขียนผังโปรแกรมจะประกอบไปด้วยการใช้สัญลักษณ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ ANSI ( American National Standards Institute ) ในการสร้างผังงาน ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปต่อไปนี้

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

ขั้นตอนการแก้ปัญหา
1.การวิเคราะห์และการกำหนดรายละเอียดของปัญหา (State The Problem)
เมื่อเกิดปัญหาหรือความต้องการขั้นแรกคือ การทำความเข้าใจปัญหานั้นๆ อย่างละเอียด หรือกำหนดขอบเขตการแก้ปัญหา ระบุความต้องการให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร โดยเขียนเป็นข้อความสั้น ๆให้ได้ใจความชัดเจน มีขั้นตอนดังนี้
• การระบุข้อมูลนำเข้า
• การระบุข้อมูลส่งออก
• การกำหนดวิธีประมวลผล
2.การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอน (Tools And Algorithm Development)
การคิดออกแบบ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของเครื่องใช้เสมอไป อาจเป็นวิธีการก็ได้ และการออกแบบไม่จำเป็นต้องเขียนแบบเสมอไป อาจเป็นแค่ลำดับความคิด หรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอนซึ่งรวมปฏิบัติการลงไปด้วย นั่นคือเมื่อออกแบบแล้วต้องลงมือทำ และลงมือปฏิบัติในสิ่งที่ออกแบบไว้
3.การดำเนินการแก้ปัญหา (Implementation)
เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่เลือกไว้ การแก้ปัญหาดังกล่าวใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงาน ขั้นตอนนี้ก็เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จ หรือใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมแก้ปัญหา
4.การตรวจสอบและปรับปรุง (Refinement)

หลังจากที่ลงมือแก้ปัญหาแล้วต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการนี้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง โดยผู้แก้ปัญหาต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหา ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้การแก้ปัญหานี้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

History





Name : Prapavadee  Aursatidvong
Nickname : Best
Birthday : 17/08/1996
Address : 92 Sukhumvit Road , Thangkiawn District , Klaeng , Rayong 21110