1.การเขียนรหัสจำลอง
(Pseudo Code)
หมายถึง
การนำคำในภาษาอังกฤษ มาแสดงการทำงานของคอมพิวเตอร์
โดยเรียบเรียงเป็นประโยคให้สามารถสื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจได้ว่าแต่ละขั้นตอนของการแก้ปัญหานั้นทำได้อย่างไร ซูโดโคดที่ดีต้องมีความชัดเจน สั้น กระชับ ได้ใจความก่อนทำการเขียนอัลกอริทึม
ต้องกำหนดตัวแปรก่อนที่จะใช้ก่อนเสมอ
วิธีการเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code)
วิธีการเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code)
สามารถกำหนดการทำงานได้เป็น 6 ข้อ ดังนี้
1.การรับข้อมูลของคอมพิวเตอร์
2.การแสดงผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์
3.การคำนวณหรือการทำงานทางคณิตศาสตร์ของคอมพิวเตอร์
4.การกำหนดค่าข้อมูลของคอมพิวเตอร์
5.การเปรียบเทียบข้อมูล 2 อย่าง
และมีการเลือกทางเดียวหรือสองทางเลือกในการทำงานหรือหลายทาง
6.การทำงานซ้ำของคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างการเขียนรหัสจำลอง
ตัวอย่างการเขียนรหัสจำลอง
จงเขียน
Pseudocode จากโปรแกรมหาค่าเฉลี่ยของตัวเลข
n ค่า แล้วแสดงค่าเฉลี่ยออกมาทางหน้าจอ
1. read n
2. for i = 1 to n <– เป็นคำสั่งวนรอบจำนวน n รอบ
1. read num
2. calculate sum = sum + num
3. calculate mean = sum / n
4. print mean
1. read n
2. for i = 1 to n <– เป็นคำสั่งวนรอบจำนวน n รอบ
1. read num
2. calculate sum = sum + num
3. calculate mean = sum / n
4. print mean
ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน
รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
ประโยชน์ของผังงาน
· ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม
และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน
·
ช่วยในการตรวจสอบ
และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
· ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข
ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
วิธีการเขียนผังงาน
·
ใช้สัญลักษณ์ตามที่กำหนดไว้
·
ใช้ลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากบนลงล่าง
หรือจากซ้ายไปขวา
·
คำอธิบายในภาพควรสั้นกะทัดรัด
และเข้าใจง่าย
·
ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า
- ออก
·
ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก
ๆ ควรใช้สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อแทน
· ผังงานควรมีการทดสอบความถูกต้องของการทำงานก่อนนำไปเขียนโปรแกรม
ผังงานโปรแกรม ( Program Flowchart )
การเขียนผังโปรแกรมจะประกอบไปด้วยการใช้สัญลักษณ์มาตรฐานต่าง
ๆ ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ ANSI ( American
National Standards Institute ) ในการสร้างผังงาน
ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปต่อไปนี้





ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น